วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การรักษาโรคติดเชื้อราแคนดิดาของช่องคลอดและอวัยวะเพศภายนอกด้วย Itraconazole

Itraconazole (Sporal หรือ Sporanox บ. Janssen Pharmaceuticals) เป็นยาต้านเชื้อรากลุ่ม triazole ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อรา (fungistatic activity) สกุลแคนดิดา (Candida spp.) โดยเฉพาะชนิด albicans

ปริมาณ Itraconazole ในเนื้อเยื่อต่างๆ จะอยู่ในระดับสูง เนื่องจากยาจับกับโปรตีนได้ดี โดยเฉพาะเคอราติน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของผม เล็บ และผิวหนัง พบว่าการให้ยาเพียงครั้งเดียวสามารถคงระดับยาที่ให้ผลการรักษาในเยื่อบุช่องคลอดได้ถึง 4 วัน แต่พบว่าผู้ป่วยบางรายกลับมาเป็นซ้ำหลังรักษาด้วยยาเนื่องจากเชื้อราลุกลามถึงชั้นใต้เยื่อบุช่องคลอด

โรคติดเชื้อราแคนดิดาของช่องคลอดและอวัยวะเพศภายนอก (vulvovaginal candidiasis) ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากเชื้อราแคนดิดาชนิด albicans แต่ในปัจจุบันพบว่าเกิดจากชนิดอื่นมากขึ้น (Candida tropicalis และ Candida glabrata) โดยแต่เดิมคิดเป็นร้อยละ 9.9 ในปี 1988 แต่ในปี 1995 พบเพิ่มเป็นร้อยละ 17.2

การศึกษาในหลอดทดลอง (in vitro) พบว่า Itraconazole ออกฤทธิ์ต้านเชื้อราแคนดิดาที่ไม่ใช่ชนิด albicans ได้ดีกว่ายาต้านเชื้อรากลุ่ม azole อื่น เช่น Fluconazole ดังนั้นการใช้ Itraconazole ในการรักษาโรคติดเชื้อราแคนดิดาของช่องคลอดและอวัยวะเพศภายนอกจึงน่าจะได้ผลดียาต้านเชื้อรากลุ่ม azole อื่นๆ

##### การทดสอบทางคลินิก #####

พบว่าการใช้ “200 มก. (2 แคปซูล) วันละครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน” หรือ “200 มก. (2 แคปซูล) วันละ 2 ครั้ง เพียงวันเดียว” สามารถให้อัตราการรักษาหาย (cure rate) สูงเช่นเดียวกับการรักษามาตรฐานด้วย Clotrimazole และ Fluconazole

ประมาณร้อยละ 5 ของผู้หญิง จะมีการกลับเป็นซ้ำอีกอย่างน้อย 4 ครั้งใน 1 ปี หรือ อย่างน้อย 3 ครั้งโดยไม่ได้เกิดหลังการใช้ยาปฏิชีวนะ อาจจำเป็นต้องใช้ Itraconazole ในขนาดป้องกัน (prophylactic dose) เช่น
- กิน 200 มก. (2 แคปซูล) ครั้งเดียว ในวันแรกของรอบประจำเดือน ติดต่อกัน 6 รอบ
หรือ
- กิน 200 มก. (2 แคปซูล) วันละ 2 ครั้ง (ห่างกัน 12 ชั่วโมง) ในวันที่ 4 หรือที่ 5 ของรอบประจำเดือน ติดต่อกัน 6 รอบ
หรือ
- กิน 200 มก. (2 แคปซูล) วันละครั้ง ติดต่อกัน 3 วันในวันแรกของรอบประจำเดือน จากนั้นในวันแรกของรอบประจำเดือนต่อไปให้กิน 200 มก. (2 แคปซูล) ครั้งเดียว ติดต่อกัน 5 รอบ

ข้อดีของการรักษาโรคติดเชื้อราแคนดิดาของช่องคลอดและอวัยวะเพศภายนอกด้วย Itraconazole คือ ใช้ระยะการรักษาสั้นกว่าการใช้ยาต้านเชื้อราเฉพาะที่

คัดจาก Gupta A.K., Bluhm R. Itraconzole (Sporanox) for vulvovaginal candidiasis. Skin Therapy Letter. Vol 7 (2002) [ http://www.skintherapyletter.com/download/stl_7_s1.pdf ]



$$$$$$$$$$ ราคาอ้างอิงเฉลี่ยของ Itraconazole 100 mg capsules $$$$$$$$$$
Sporal (บ. Janssen-Cilag) แคปซูลละ 35.07 บาท (3,507.40 บาท/100 แคปซูล)
Sporlab (บ. Biolab) แคปซูลละ 13.06 บาท (1,306.25 บาท/100 แคปซูล)
Spazol (บ. Siam Bhaesaj) แคปซูลละ 10.62 บาท (1,062.26 บาท/100 แคปซูล)
Itracon (บ. Unison) แคปซูลละ 13.25 บาท (1,324.70 บาท/100 แคปซูล)
Spornar (บ. Charoen Bhaesaj) แคปซูลละ 9.45 บาท (945.00 บาท/100 แคปซูล)
Itra (บ. Macrophar) แคปซูลละ 8.92 บาท (891.82 บาท/100 แคปซูล)
Norspor (บ. Ponds Chemical) แคปซูลละ 9.75 บาท (975.00 บาท/100 แคปซูล)



ref;  ภก.ณัฐวัฒน์ ตีระวัฒนพงษ์


ให้พิจารณาหรือระมัดระวังเรื่องการกินยาด้วยครับ โดยคุณสมบัติของ Itraconazole capsule ต้องอาศัยกรดในปริมาณที่มากพอในการละลายยาและช่วยให้ยาดูดซึมได้ดีขึ้นครับ โดยทั่วไปแนะนำให้กินยาหลังอาหารทันทีเพื่อให้กรดที่หลั่งออกมาช่วยในการดูดซึมยาครับ อาจต้องพิจารณาว่ากินอาหารมื้อไหนเป็นมื้อหลักควรกินยาหลังอาหารมื้อนั้น ถ้าให้ดีแนะนำให้กินพร้อมน้ำอัดลมครับ(มีการศึกษาว่า Cola beverage เช่น Coke,Pepsi) ช่วยให้ยาดูดซึมได้ดีขึ้นเนื่องจากน้ำอัดลมมีคุณสมบัติเพิ่มความเป็นกรดในกระเพาะได้ครับ อีกอย่างในกรณีที่รักษาไม่หาย อาจเกิดได้จากการกินพร้อมหรือใกล้ยาบางชนิดเช่น ยาลดกรด,ยายับยั้งการหลั่งกรด รักษาโรคกระเพาะอาหาร เป็นต้นครับ เนื่องจากยาเหล่านี้จะลดกรดทำให้ยา Sporal แตกตัวดูดซึมไม่ได้ครับ นอกจากนี้ยังมียาอีกหลายชนิดที่มีผลเช่นกัน หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการกินยาก็จะดีครับเพื่อจะได้ช่วยกันตอบคำถามของคุณได้


ref; ภก.ปริทัศน์ สุขสนาน

วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คำถามที่น่าสนใจและความรู้เกี่ยวการรับประทานยาคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี

รวมคำถามที่น่าสนใจและความรู้เกี่ยวการรับประทานยาคุมกำเนิดอย่างถูกวิธี
โดย อ.จุฬาพร

<< คลิก >>

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประเด็นการถูกถอน rofecoxib (Vioxx ®) และความเป็นมาของ NSAIDs

 
เมื่อปวดศีรษะหรือมีไข้ ทุกคนคงนึกถึงพาราเซตามอล (paracetamol) หรือไม่ก็แอสไพริน (aspirin). Aspirin นอกจากจะแก้ปวดและลดไข้แล้วยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammation)   อีกด้วย ขณะที่ paracetamol มีคุณสมบัตินี้น้อยมาก ทราบกันอยู่แล้วว่าสตีรอยด์ (steroid) มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเช่นกัน. ดังนั้น aspirin ซึ่งไม่ใช่สตีรอยด์จึงถูกจัดเป็นยากลุ่ม Non-steroidal anti-inflam-matory drugs (NSAIDs).

Aspirin มีใช้ตั้งแต่สมัย Hippocrates แล้วโดยมีบันทึกว่าผงจากเปลือกต้น willow สามารถแก้ปวดและลดไข้ได้. 2,000 ปีต่อมา ค.ศ. 1826 Brugnatelli และ Fontana ชาวอิตาลีสกัดสารจากเปลือกต้น willow ได้แต่ยังไม่บริสุทธิ์ จนค.ศ. 1828 Johann Buchner ศาสตราจารย์ด้านเภสัชวิทยาชาวเยอรมันก็ทำสำเร็จเขาเรียกสารนี้ว่า salicin อีก 1 ปีต่อมา   Henri leroux นักเคมีชาวฝรั่งเศสก็พัฒนากระบวนการจนสกัดยาได้ในปริมาณที่มากขึ้น.

ค.ศ. 1838 Raffaele Piria นักเคมีชาวอิตาลีใช้ปฏิกิริยาทางเคมีเปลี่ยน salicin เป็น salicylic acid แต่สารนี้กัดกระเพาะอาหารมากตอนนั้นเชื่อว่า  เป็นเพราะยามีฤทธิ์เป็นกรด. ค.ศ. 1853 Charles    Frederic Gerhardt (1816-1856) นักเคมีชาวฝรั่งเศสจึง buffer กรดนี้ด้วย sodium และ acetyl chloride กลายเป็น Acetylsalicylic acid (ASA) แต่เขาไม่สนใจที่จะผลิตออกจำหน่าย ค.ศ. 1893 ผู้ผลิต paracetamol จึงแซงหน้าผลิตออกมาใช้ก่อน.

ค.ศ. 1899 Felix Hoffmann (1868-1946)นักเคมีชาวเยอรมันสกัด salicylic acid จากต้น Spiraea ulmaria และ buffer ได้เป็น ASA เช่นเดียวกับ Gerhadt แต่คราวนี้ไม่พลาดเขาผลิต ASA ออกสู่ตลาดในปีนั้นเองโดยใช้ชื่อทางการค้าว่า aspirin ซึ่ง A มาจาก Acetyl chloride ส่วน spirin มาจาก Spiraea ulmaria แต่ก็ยังไม่มีใครทราบกลไกการออกฤทธิ์ของมัน.

ศตวรรษที่ 1930 Ulf Von Euler (1905-1983) แพทย์ชาวสวีเดนพบว่าในน้ำเลี้ยงเชื้ออสุจิมีสารที่ส่งผลต่อหลอดเลือดและกล้ามเนื้อเขาตั้งชื่อสารนี้ว่า Prostaglandin (PG) (ทำให้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ในปี ค.ศ. 1970).

ปลายศตวรรษที่ 1950 Sune K. Bergstrom (1916-2004) แพทย์ชาวสวีเดนสกัดสาร PG ได้   ต่อมาศตวรรษที่ 1960 Bengt I. Samuelsson (เกิด ค.ศ. 1934) แพทย์ชาวสวีเดนลูกศิษย์ของ Bergstrom ก็ค้นพบสาร leukotrienes (LT) ซึ่งทั้ง PG และ LT มีบทบาทสำคัญในกระบวนการอักเสบของร่างกาย.
 
ค.ศ. 1971 พบเอนไซม์ cyclooxygenase (COX) ซึ่งทำงานโดยย่อย arachidonic acid ของเยื่อหุ้มเซลล์ให้เป็น PG และ thromboxan ส่วน John R. Vane (เกิด ค.ศ. 1927) นักเคมีชาวอังกฤษพบว่า ASA ออกฤทธิ์โดยไปยับยั้งการทำงานของ COX ทำให้ PG ลดลงการอักเสบจึงลดลงนั่นเอง จากผลงานดังกล่าวทั้ง 3 จึงได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ในปี ค.ศ. 1982.

หลังจากนั้นก็มี NSAIDs ขนานอื่นๆ ตามมามากมายและเกิดข้อสังเกตว่าแต่ละขนานมีผลต่อกระเพาะอาหารไม่เท่ากัน จนพบคำตอบในปี ค.ศ. 1990 โดย Daniel L. Simmons นักชีวเคมีชาวอเมริกันค้นพบว่า COX มีอยู่ 2 isoform คือ COX-1 กับ COX-2 โดย COX-2 สร้าง PG ในกระบวนการอักเสบขณะที่ COX-1 ซึ่งพบมากที่กระเพาะอาหารกลับสร้าง PG ออกมาป้องกันเยื่อบุของตัวเองจากกรด. NSAIDs แต่ละขนานมีผลต่อ COX-1/COX-2 ไม่เท่ากันจึงมีผลต่อกระเพาะอาหารต่างกันนั่นเอง โดยยาที่ยับยั้ง COX-1 มากก็จะระคายเคืองกระเพาะอาหารมากกว่า ทำให้บริษัทยาพุ่งเป้าไปที่การผลิต NSAIDs ให้ยับยั้งเฉพาะ COX-2 เรียกว่า COX-2 Inhibitor (COXIB). ตัวอย่างยาได้แก่ celecoxib, valdeco-xib, parecoxib, etoricoxib, rofecoxib (Vioxx ®)   และ lumiracoxib.

เล่าซะยาวเลยมาเข้าเรื่อง Vioxx ® ดีกว่านะครับ ล่าสุดจากงานวิจัย APPROVe (Adenomatous Polyp Prevention on Vioxx) พบว่า Vioxx ® เมื่อใช้เป็นเวลานานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ทำให้ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2004 บริษัทต้นสังกัดต้องเรียกยา Vioxx ® คืนและประกาศถอนยาออกจากตลาด อ่านถึงตอนนี้บางคนอาจสงสัยในกระบวนการผลิตยาออกสู่ตลาดว่าเป็นอย่างไร?.

ความจริงเป็นอย่างนี้ครับ การทดลองยานั้นแบ่งออกเป็นหลายระยะคือ ทดลองในสัตว์, ทดลองในคนจำนวนน้อย จากนั้นทดลองในคนจำนวนมากขึ้นถ้าไม่มีผลเสียก็ผลิตออกสู่ตลาดได้ จากนั้นจะมีการ      เฝ้าระวังหลังจากยาออกสู่ตลาด (post marketing  surveillance) ถ้าพบว่ามีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงก็ต้องถอนออกจากตลาดเช่นกรณีของ Vioxx เป็นต้น.ดังนั้นยาที่ออกสู่ตลาดใหม่ๆ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการทดลองระยะสุดท้ายนั่นเอง.

ทราบกันแล้วว่า COX-2 จะสร้าง prostacyclin ซึ่งเป็นสารที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัวและขัดขวางการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ดังนั้นยาที่ไปยับยั้ง COX-2 ในทางทฤษฎีย่อมเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับยากลุ่ม COXIB ตัวอื่นๆ ด้วย.
 
ref; ธีรวัฒน์ บูระวัฒน์ พ.บ.,โรงพยาบาลท่าแซะ, จังหวัดชุมพร 

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการรักษากลาก เกลื้อน Candidiasis

#####เกลื้อน (Pityriasis versicolor, Tinea versicolor)#####
Standard treatment (ฟอกทิ้งไว้ 15 นาที วันละครั้งติดต่อกัน 2-4 wks)
-2.5% selenium sulfide shampoo
-1-2% zinc pyrithione shampoo (ที่จริงก็พวก head & shoulder แหละ)
-2% Ketoconazole shampoo (Nizoral shampoo ไง)
Alternative treatment ถ้ามันเป็นกล้างมากๆ ก็ให้กินไปเลย
- ketoconazole (200) 1x1 po pc 10-14 วัน
- ketoconazole (200) 2-4 tab single dose
คนที่เป็นบ่อยๆ ให้แนะนำให้ใช้shampoo ฟอกสัปดาห์ละครั้ง และกิน ketoconazole 2 tab เดือนละครั้ง


#####กลาก#####
Topical treatment
เลือกเอาตามใจชอบ มีเยอะมาก จะขอพูดแต่ตัวที่เพื่อนๆน่าจะคุ้นๆ
- clotrimazole cream
- ketoconazole cream
- econazole cream
- miconazole cream
- Lamisil cream
- Tonaftate
- Whitfield’s ointment
- Desenex
ระยะเวลารักษาขึ้นกับตำแหน่ง ทั่วๆไป 2-4 สัปดาห์ ถ้าเป็น tinea capitis, manuum 6-8 สัปดาห์

ยากิน
มีข้อบ่งใช้คือ กลากที่หนังศีรษะ เส้นผม เล็บ กลากที่เป็นกว้างๆ ไม่ตอบสนองต่อยาทา เป็นเรื่อรัง หรือเป็นซ้ำบ่อยๆ หรือได้ยากดภูมิต่านทาน
- Griseofulvin (500mg) 1-2 tab od 3-6 wks
- Ketoconazole (200) (= Nizoral) 1x1 po pc ไม่ให้เกิน 14 วันนะ ระวัง hepatitis
- Itraconazole (100) (= Sporal) 1x1 po pc 15 วัน หรือ 2x1 po pc 7 วัน
- Terbinafine (250) (= Lamisil) 1x1 po pc 7 วัน





##### Candidiasis #####
@@@@@ LOCAL Rx @@@@@
1 oral mucosa
- nystatin oral suspension อมกลั้วปากแล้วกลืน วันละ 5 ครั้ง นาน 2 สัปดาห์
2 ผิวหนัง ขอบเล็บ อวัยวะเพศ
- clotrimazole (หรือ imidazole ตัวอื่นๆ) ทาวันละ 2 ครั้ง นาน 2 สัปดาห์
บริเวณช่องคลอด
- nystatin vaginal tablet หรือ กลุ่ม imidazole vaginal tablet ทาวันละ 2 ครั้ง นาน 2 สัปดาห์


@@@@@ SYSTEMIC Rx @@@@@

- Ketoconazole (200) 1x1 po pc 10-14 วัน
- Itraconazole (100) 2x1 po pc 10-14 วัน
- Fluconazole 50-100 mg/day นาน 7 วัน









#####เชื้อราที่เล็บ Onychomycosis#####
Hand nails
- Griseofulvin (500) 1-2 tab po od 4-6 months ถ้า 3 เดือน อาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลงให้ consult skin
- Itraconazole (100) 1x2 po pc for 7 days **** monthly 2 months (pulse therapy)
- Terbinafine (250) 1x1 po pc 6 wks
Toe nails
- Griseofulvin (500) 1-2 tab po od 8-12 months ถ้า 3 เดือน อาการไม่ดีขึ้น หรือแย่ลงให้ consult skin
- Itraconazole (100) 1x2 po pc for 7 days **** monthly 3-4 months (pulse therapy)
- Terbinafine (250) 1x1 po pc 12 wks



ข้อควรรู้อื่นๆ

Griseofulvin
ได้ผลดีในการรักษากลากเท่านั้น ยาดูซึมได้ดีโดยรับประทานร่วมกับอาหรที่มีไขมันสูง
ห้ามใช้ใน liver failure
ยาจะทำให้ระดับของ cyclosporine ยาคุม และ anticoagulant ลดลง

Nystatin
ใช้รักษา candida เท่านั้น ยาชนิดกินจะไม่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารนะ เพราะฉะนั้น ถ้าคนไข้เป็น vaginal candidiasis ก็ให้ nystatin vaginal tablet ไม่ใช่ให้form กินหละ

Ketoconazole
ควรทานหลังอาหารทันที เพราะกรดในกระเพาะจะช่วยดูดซึมยา
ระวัง idiosyncratic hepatotoxicity --> hepatitis ได้
ไม่ควรใช้ใน pregnancy ผ่าน placenta ได้ มี teratogenicity







-----------------------------
ref; http://www.medchula.com/question.asp?class=56&gid=432

Fluconazole ครั้งเดียวรักษา oropharyngeal candidiasis ในผู้ป่วย HIV

Fluconazole ครั้งเดียวรักษา oropharyngeal candidiasis ในผู้ป่วย HIV

( สัปดาห์ที่ 3 เดือนธันวาคม พ.ศ.2551)

การศึกษาแบบสุ่มและ double-blind ในผู้ป่วย HIV 220 รายในประเทศแทนซาเนียซึ่งได้รับ fluconazole แบบรับประทานขนาด 750 mg ครั้งเดียวหรือ fluconazole แบบรับประทานขนาด 150 mg วันละครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันในการรักษา oropharyngeal candidiasis ทั้งในแง่ของอาการทางคลินิกและการกำจัดเชื้อราโดยมีอัตราการหายทางคลินิก (ร้อยละ 94.5 และ 95.5 ตามลำดับ) และอัตราการกำจัดเชื้อรา (ร้อยละ 84.5 และ 75.5ตามลำดับ) โดยไม่มีความแตกต่างของอาการไม่พึงประสงค์ระหว่าง 2 กลุ่มการศึกษา การให้ fluconazole ครั้งเดียวในการรักษา oropharyngeal candidiasis ในผู้ป่วย HIV นี้ก่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ป่วยจึงสามารถเพิ่ม compliance ให้แก่ผู้ป่วยและลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ (เมื่อเปรียบเทียบราคายา fluconazole ต่อเม็ดซึ่งในขนาด 750 mg จะต้องได้รับ fluconazole ขนาด 150 mg จำนวน 5 เม็ด ขณะที่การรักษาแบบ 14 วันจะต้องได้รับ fluconazole ขนาด 150 mg เป็นจำนวน 14 เม็ด )

Reference : http://www.medscape.com/viewarticle/585196


____________________
Ref; 
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.php?id=433

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเขียนเอกสารอ้างอิง รูปแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style)

รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง ที่ใช้ในวารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุขทั่วไป มักนิยมใช้การอ้างอิงรูปแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style) ในปัจจุบัน International Committee of Medical Journal Editor ยังคงแนะนำให้ใช้รูปแบบแวนคูเวอร์ แต่เพิ่มเติมรายละเอียดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ในการอ้างถึงเอกสารวิชาการรูปแบบแวนคูเวอร์ ให้เรียงลำดับของเอกสาร ตามลำดับเลขที่มีการอ้างถึงในเนื้อหารายงานหรือบทความ และหมายเลขที่อ้างถึงในเนื้อเรื่องนั้น จะต้องตรงกับหมายเลขที่มีการกำกับไว้ในส่วนเอกสารอ้างอิงด้วย โดยเรียงลำดับจากหมายเลข 1 ไปจนถึงเลขที่สุดท้าย (1, 2, 3,…) ให้เขียนหมายเลขอยู่ในวงเล็บ ( ) ต่อท้ายข้อความที่นำมาอ้างอิงในรายงาน

ประเภทของเอกสารวิชาการที่นำมาอ้างอิง
ประเภทและที่มาของเอกสารวิชาการที่จะนำมาอ้างอิง จะเป็นตัวกำหนดรายละเอียดในการเขียนเอกสารอ้างอิง
1. บทความจากวารสารวิชาการมาตรฐาน (Standard journal article)
ส่วนสำคัญที่ต้องลงในรายการเอกสารอ้างอิง คือ
- ชื่อผู้นิพนธ์ (Authors)
- ชื่อบทความ (Title)
- ชื่อวารสาร (Title of journal)
- ปีที่ตีพิมพ์ (Year)
- ปีที่ของวารสาร (Volume)
- เล่มที่ (Issue number)
- หน้า (Pages)



1.1 ผู้นิพนธ์คนเดียวหรือหลายคน
ตัวอย่างการเขียน
1. Halpern SD, Ubel PA, Caplan AL. Solid-organ transplantation in HIV-infected patients. N Engl J Med. 2002; 347(4):284-7.
2. อภิชาต โอฬารรัตนชัย, ธีระพร วุฒยวนิช. การสร้างช่องคลอดเทียมโดยอาศัยเยื่อถุงน้ำคร่ำ. เชียงใหม่เวชสาร 2532; 29:129-136.



รายชื่อผู้นิพนธ์ภาษาอังกฤษ ให้เรียงตามลำดับ โดยเริ่มจาก นามสกุล แล้วตามด้วยชื่อ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรคตอนต่อท้ายนามสกุล ใช้เครื่องหมาย , หลังชื่อทุกคน ถ้าผู้นิพนธ์มีมากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อ 6 คนแรก ตามด้วยคำว่า “et al.”


1.2 ผู้นิพนธ์เป็นคณะบุคคล
ตัวอย่างการเขียน
1. Diabetes Prevention Program Research Group. Hypertension, insulin, and proinsulin in participants with impaired glucose tolerance. Hypertension. 2002; 40(5):679-86.


1.3 ไม่ปรากฏชื่อผู้นิพนธ์
ตัวอย่างการเขียน
1. 21st century heart solution may have a sting in the tail. BMJ. 2002; 325(73):184.

2. หนังสือ

2.1 ผู้นิพนธ์คนเดียว
ตัวอย่างการเขียน
1. Murray PR. Medical microbiology. 4th ed. St. Louis: Mosby; 2002.
2. เกษม วัฒนชัย. การดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูง (Clinical management of essential hypertension). กรุงเทพ: พัฒนาศึกษา; 2532.


2.2 หนังสือที่มีบรรณาธิการ ผู้รวบรวม หรือประธานเป็นผู้แต่ง
ตัวอย่างการเขียน
1. Gilstrap LC, Cunningham FG, VanDorsten JP, editors. Operative obstetrics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 2002.
2. วีระพล จันทร์ดียิ่ง, สนทิศ สุทธิจำรูญ, บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยาเด็กและหญิงวัยรุ่นสาว. สงขลา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2531.


2.3 บทหนึ่งในหนังสือ
ตัวอย่างการเขียน
1. Meltzer PS, Kallioniemi A, Trent JM. Chromosome alterations in human solid tumors. In: Vogelstein B, Kinzler KW, editors. The genetic basis of human cancer. New York: McGraw-Hill; 2002. p. 93-113.
2. ประสงค์ ตู้จินดา. บทนำและประวัติทางการแพทย์เกี่ยวกับทารกแรกเกิด. ใน: ประพุทธ ศิริปุณย์ อุรพล บุญประกอบ. (บรรณาธิการ) ทารกแรกเกิด พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำรา ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2533. หน้า 1-6.


2.4 หน่วยงานเป็นผู้นิพนธ์
ตัวอย่างการเขียน
1. Royal Adelaide Hospital; University of Adelaide, Department of Clinical Nursing. Compendium of nursing research and practice development, 1999-2000. Adelaide (Australia): Adelaide University; 2001.

3. เอกสารอื่นๆ

3.1 วิทยานิพนธ์
ตัวอย่างการเขียน
1. Cairina RB. Infrared spectroscopic studies of solid oxygen (Dissertation). Berkeley, University of California; 1995. 156p.
2. สมภพ บุญทิม. ผลทางไซโตเจเนติกของสารคดี จากไพล (Zingiber cassumunar Roxb.) ต่อโครโมโซมของมนุษย์ที่เตรียมจากลิมฟ์โฟซัยที่เพาะเลี้ยง. (วิทยานิพนธ์) เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2533. 75 หน้า.


3.2 บทความในเอกสารการประชุมวิชาการ
ตัวอย่างการเขียน
1. Christensen S, Oppacher F. An analysis of Koza's computational effort statistic for genetic programming. In: Foster JA, Lutton E, Miller J, Ryan C, Tettamanzi AG, editors. Genetic programming. EuroGP 2002: Proceedings of the 5th European Conference on Genetic Programming; 2002 Apr 3-5; Kinsdale, Ireland. Berlin: Springer; 2002. p.182-91.
2. ประมวล วีรุตมเสน. การปฏิสนธินอกร่างกาย และการย้ายฝากตัวอ่อนในคน. ใน : อุกฤษต์ เปล่งวาณิช, เสบียง ศรีวรรณบูรณ์, มลินี มาลากุล, บรรณาธิการ. การประชุมใหญ่ทางวิชาการฉลอง 100 ปี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534. หน้า 5-7.


3.3 เอกสารรวบรวมจากการประชุมวิชาการที่จัดพิมพ์ตามหลังการประชุม
ตัวอย่างการเขียน
1. Harnden P, Joffe JK, Jones WG, editors. Germ cell tumours V. Proceedings of the 5th Germ Cell Tumour Conference; 2001 Sep 13-15; Leeds, UK. New York: Springer; 2002.

4. แหล่งข้อมูลอิเลคโทรนิก
4.1 CD-ROM
ตัวอย่างการเขียน
1. Anderson SC, Poulsen KB. Anderson's electronic atlas of hematology [CD-ROM]. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2002.

4.2 Journal article on the Internet
ตัวอย่างการเขียน
1. Abood S. Quality improvement initiative in nursing homes: the ANA acts in an advisory role. Am J Nurs [serial on the Internet]. 2002 Jun [cited 2002 Aug 12];102(6):[about 3 p.]. Available from: http://www.nursingworld.org/AJN/2002/june/Wawatch.htm

4.3 Monograph on the Internet
ตัวอย่างการเขียน
1. Foley KM, Gelband H, editors. Improving palliative care for cancer [monograph on the Internet]. Washington: National Academy Press; 2001 [cited 2002 Jul 9]. Available from: http://www.nap.edu/books/0309074029/html/

4.4 Homepage/Web site
ตัวอย่างการเขียน
1. Cancer-Pain.org [homepage on the Internet]. New York: Association of Cancer Online Resources, Inc.; c2000-01 [updated 2002 May 16; cited 2002 Jul 9]. Available from: http://www.cancer-pain.org/

4.5 Part of a homepage/Web site
ตัวอย่างการเขียน
1. American Medical Association [homepage on the Internet]. Chicago: The Association; c1995-2002 [updated 2001 Aug 23; cited 2002 Aug 12]. AMA Office of Group Practice Liaison; [about 2 screens]. Available from: http://www.ama-assn.org/ama/pub/category/1736.html

4.6 Database on the Internet ase:
ตัวอย่างการเขียน
Open database:
1. Who's Certified [database on the Internet]. Evanston (IL): The American Board of Medical Specialists. c2000 - [cited 2001 Mar 8]. Available from: http://www.abms.org/newsearch.asp
Closed database:
1. Jablonski S. Online Multiple Congential Anomaly/Mental Retardation (MCA/MR) Syndromes [database on the Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US). c1999 [updated 2001 Nov 20; cited 2002 Aug 12]. Available from: http://www.nlm.nih.gov/mesh/jablonski/syndrome_title.html

4.7 Part of a database on the Internet
ตัวอย่างการเขียน
1. MeSH Browser [database on the Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); 2002 - [cited 2003 Jun 10]. Meta-analysis; unique ID: D015201; [about 3 p.]. Available from: http://www.nlm.nih.gov/mesh/MBrowser.html Files updated weekly.


Reference:
1. International Committee of Medical Journal Editors. Uniform Requirements for Manuscripts Submitted to Biomedical Journals: Sample References [monograph on the Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); [updated July 9, 2003; cited 2005 Mar 3]. [about 7 screens]. Available from: http://www.nlm.nih.gov/bsd/uniform_requirements.html


ที่มา;สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

หนึ่งมุมมองเกี่ยวกับการใช้ยา...

วารสารภูกามยาว ฉบับตีพิมพ์ เดือนธันวาคม 2552
จิรวัฒน์ รวมสุข; ผู้เขียน

"คุณเคยสงสัยไหมว่า...ในแต่ละครั้งที่คุณเจ็บป่วยจำเป็นต้องใช้ยา คุณใช้มันอย่างเหมาะสมหรือไม่ ใช้อย่างถูกวิธีกันบ้างไหม บางคนได้ยินมาแบบนั้นก็เชื่อแล้วปฏิบัติตาม ก็อาจเกิดโทษได้หากเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาที่ถูกต้อง ผลประโยชน์ที่ได้รับก็จะเกิดขึ้นกับตัวท่านเอง วันนี้ผมได้รวบรวมมุมมองเกี่ยวกับการใช้ยาที่อาจไม่เหมาะสมนักมาให้ได้รับฟังกันครับ"...



 ขนาดยารับประทาน 1 ช้อนโต๊ะ เราใช้ ช้อนแกง แทนได้ !?
เป็นความเชื่อที่คนส่วนใหญ่คงคิดว่า ช้อนแกงที่เราใช้กินข้าวนั้นใช้แทนช้อนโต๊ะตามที่ระบุไว้บนฉลากยา แต่จริงๆแล้วเมื่อลองวัดปริมาตร ขนาดยาจากช้อนโต๊ะมาตรฐานที่ได้รับจากร้านยาหรือโรงพยาบาลจะมากกว่าช้อนแกงถึง 2 เท่า ซึ่งหากคุณใช้ช้อนแกงจะทำให้คุณได้รับขนาดยาที่ต่ำเกินไป ผลการรักษาจึงไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะหากเป็นยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ ก็อาจทำให้เชื้อดื้อยาได้ง่าย และทำให้ต้องใช้ยาที่แรงกว่านี้ในอนาคต ดังนั้นจะช้อนชา หรือช้อนโต๊ะ เราก็ควรจะใช้ช้อนจากที่ได้รับในร้านยาหรือโรงพยาบาล หรือที่แนบมากับขวดยา
ซึ่งหลักในการตวงยาอย่างถูกต้องควรปฏิบัติดังนี้
- 1 ช้อนชา คือ 5 ซีซี (cc) หรือ 5 มิลลิลิตร (5 ml)
- 1 ช้อนโต๊ะ คือ 15 ซีซี (cc) หรือ 15 มิลลิลิตร (15 ml)
- 1 ช้อนกินข้าวมีความจุเพียง 7.5 ซีซี (cc)
- 1 ช้อนกาแฟมีความจุเพียง 2.5 ซีซี (cc)

ฉะนั้นช้อนชาจึงไม่ใช่ช้อนกาแฟ และช้อนโต๊ะก็ไม่ใช่ช้อนแกง
หากกรณีที่ท่านทำช้อนโต๊ะหรือช้อนชามาตรฐานหล่นหาย
ก็ควรจะไปขอรับช้อนใหม่ได้ที่ร้านขายยาหรือสถานบริการทาง
การแพทย์ทั่วไป

 ฉีดยาดีกว่ากินยา !?
อืม..เป็นเช่นนั้นจริงหรือ? ยารับประทานเป็นรูปแบบยาอันดับแรกที่มักพิจารณาเลือกใช้ เพราะบริหารง่ายและสามารถรักษาโรคได้เช่นเดียวกัน ส่วนยาฉีดใช้ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ยารับประทานได้หรือต้องการผลให้ระดับยาสูงขึ้นทันทีเท่านั้น จากกรณีศึกษาคุณยายท่านหนึ่ง เจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆต้องไปหาหมอเพื่อฉีดยา แต่จริงๆแล้วหากไม่ได้เจ็บป่วยอะไรหมอจะพิจารณาให้ยารับประทาน แต่คุณยายก็ไม่ยอมอยากให้คุณหมอฉีดยาให้อีก หมอก็เลยฉีดให้จริง แต่น้ำเกลือเท่านั้น เชื่อไหมหลังจากนั้นคุณยายก็บอกว่าหายดีแล้ว จริงๆคงเป็นความรู้สึกทางใจและฤทธิ์ของยารับประทานนั่นเอง

 ยาแพงดีกว่ายาถูก !?
ไม่จริงเสมอไป เพราะยาที่สามารถจัดจำหน่ายได้นั้นต้องผ่านการศึกษาด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ และที่สำคัญต้องผ่านการขึ้นทะเบียนยาโดยสำนักงานอาหารและยา ไม่ว่ายานั้นจะมีมูลค่ามากน้อยเพียงใด แต่ที่สำคัญคือเราใช้ยาถูกโรค ถูกขนาด ถูกเวลา ถูกชนิดหรือไม่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราหายจากโรคภัย ไข้เจ็บ
 เมื่ออาการหายก็ไม่ต้องรับประทานยาต่อ !?
คงไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกโรค หากเราพิจารณากันให้ดีหลักการใช้ยาในการรักษามีอยู่ 2 ประเภท คือ 1. การใช้เพื่อบรรเทาอาการหรือรักษาตามอาการ หากอาการดีขึ้นก็สามารถหยุดได้ 2. การใช้เพื่อการรักษาโรคหรือกำจัดสาเหตุของโรค การใช้ยาตามระยะเวลากำหนด ขึ้นกับข้อมูลการศึกษาตามชนิดอาการหรือโรค ที่สำคัญคือโรคเรื้อรัง ตามชื่อก็บอกไว้แล้วว่าเรื้อรัง ย่อมรับประทานยาเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง แม้ใช้ยาจนสามารถควบคุมอาการได้แล้วก็ตาม การหยุดยาเองอาจก่อให้เกิดผลร้ายตามมา คือโรคไม่หายขาด หรืออาการอาจกำเริบขึ้นได้อีก

จากสิ่งที่นำมาเล่าสู่กันฟังเป็นมุมมองที่หลายคนอาจจะยึดติดหรือยังไม่ทราบรายละเอียดมากนักแต่สิ่งเหล่านี้เป็นความรู้เบื้องต้นในการใช้ยา ให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ท้ายนี้หากมีปัญหาเรื่องการใช้ยา อย่าลืมเรียกหาเภสัชกรนะครับ.....






ทักทาย แนะนำ ติชม แสดงความคิดเห็น