วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเขียนเอกสารอ้างอิง รูปแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style)

รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง ที่ใช้ในวารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุขทั่วไป มักนิยมใช้การอ้างอิงรูปแบบแวนคูเวอร์ (Vancouver Style) ในปัจจุบัน International Committee of Medical Journal Editor ยังคงแนะนำให้ใช้รูปแบบแวนคูเวอร์ แต่เพิ่มเติมรายละเอียดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ในการอ้างถึงเอกสารวิชาการรูปแบบแวนคูเวอร์ ให้เรียงลำดับของเอกสาร ตามลำดับเลขที่มีการอ้างถึงในเนื้อหารายงานหรือบทความ และหมายเลขที่อ้างถึงในเนื้อเรื่องนั้น จะต้องตรงกับหมายเลขที่มีการกำกับไว้ในส่วนเอกสารอ้างอิงด้วย โดยเรียงลำดับจากหมายเลข 1 ไปจนถึงเลขที่สุดท้าย (1, 2, 3,…) ให้เขียนหมายเลขอยู่ในวงเล็บ ( ) ต่อท้ายข้อความที่นำมาอ้างอิงในรายงาน

ประเภทของเอกสารวิชาการที่นำมาอ้างอิง
ประเภทและที่มาของเอกสารวิชาการที่จะนำมาอ้างอิง จะเป็นตัวกำหนดรายละเอียดในการเขียนเอกสารอ้างอิง
1. บทความจากวารสารวิชาการมาตรฐาน (Standard journal article)
ส่วนสำคัญที่ต้องลงในรายการเอกสารอ้างอิง คือ
- ชื่อผู้นิพนธ์ (Authors)
- ชื่อบทความ (Title)
- ชื่อวารสาร (Title of journal)
- ปีที่ตีพิมพ์ (Year)
- ปีที่ของวารสาร (Volume)
- เล่มที่ (Issue number)
- หน้า (Pages)



1.1 ผู้นิพนธ์คนเดียวหรือหลายคน
ตัวอย่างการเขียน
1. Halpern SD, Ubel PA, Caplan AL. Solid-organ transplantation in HIV-infected patients. N Engl J Med. 2002; 347(4):284-7.
2. อภิชาต โอฬารรัตนชัย, ธีระพร วุฒยวนิช. การสร้างช่องคลอดเทียมโดยอาศัยเยื่อถุงน้ำคร่ำ. เชียงใหม่เวชสาร 2532; 29:129-136.



รายชื่อผู้นิพนธ์ภาษาอังกฤษ ให้เรียงตามลำดับ โดยเริ่มจาก นามสกุล แล้วตามด้วยชื่อ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรคตอนต่อท้ายนามสกุล ใช้เครื่องหมาย , หลังชื่อทุกคน ถ้าผู้นิพนธ์มีมากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อ 6 คนแรก ตามด้วยคำว่า “et al.”


1.2 ผู้นิพนธ์เป็นคณะบุคคล
ตัวอย่างการเขียน
1. Diabetes Prevention Program Research Group. Hypertension, insulin, and proinsulin in participants with impaired glucose tolerance. Hypertension. 2002; 40(5):679-86.


1.3 ไม่ปรากฏชื่อผู้นิพนธ์
ตัวอย่างการเขียน
1. 21st century heart solution may have a sting in the tail. BMJ. 2002; 325(73):184.

2. หนังสือ

2.1 ผู้นิพนธ์คนเดียว
ตัวอย่างการเขียน
1. Murray PR. Medical microbiology. 4th ed. St. Louis: Mosby; 2002.
2. เกษม วัฒนชัย. การดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูง (Clinical management of essential hypertension). กรุงเทพ: พัฒนาศึกษา; 2532.


2.2 หนังสือที่มีบรรณาธิการ ผู้รวบรวม หรือประธานเป็นผู้แต่ง
ตัวอย่างการเขียน
1. Gilstrap LC, Cunningham FG, VanDorsten JP, editors. Operative obstetrics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 2002.
2. วีระพล จันทร์ดียิ่ง, สนทิศ สุทธิจำรูญ, บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยาเด็กและหญิงวัยรุ่นสาว. สงขลา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2531.


2.3 บทหนึ่งในหนังสือ
ตัวอย่างการเขียน
1. Meltzer PS, Kallioniemi A, Trent JM. Chromosome alterations in human solid tumors. In: Vogelstein B, Kinzler KW, editors. The genetic basis of human cancer. New York: McGraw-Hill; 2002. p. 93-113.
2. ประสงค์ ตู้จินดา. บทนำและประวัติทางการแพทย์เกี่ยวกับทารกแรกเกิด. ใน: ประพุทธ ศิริปุณย์ อุรพล บุญประกอบ. (บรรณาธิการ) ทารกแรกเกิด พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำรา ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2533. หน้า 1-6.


2.4 หน่วยงานเป็นผู้นิพนธ์
ตัวอย่างการเขียน
1. Royal Adelaide Hospital; University of Adelaide, Department of Clinical Nursing. Compendium of nursing research and practice development, 1999-2000. Adelaide (Australia): Adelaide University; 2001.

3. เอกสารอื่นๆ

3.1 วิทยานิพนธ์
ตัวอย่างการเขียน
1. Cairina RB. Infrared spectroscopic studies of solid oxygen (Dissertation). Berkeley, University of California; 1995. 156p.
2. สมภพ บุญทิม. ผลทางไซโตเจเนติกของสารคดี จากไพล (Zingiber cassumunar Roxb.) ต่อโครโมโซมของมนุษย์ที่เตรียมจากลิมฟ์โฟซัยที่เพาะเลี้ยง. (วิทยานิพนธ์) เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2533. 75 หน้า.


3.2 บทความในเอกสารการประชุมวิชาการ
ตัวอย่างการเขียน
1. Christensen S, Oppacher F. An analysis of Koza's computational effort statistic for genetic programming. In: Foster JA, Lutton E, Miller J, Ryan C, Tettamanzi AG, editors. Genetic programming. EuroGP 2002: Proceedings of the 5th European Conference on Genetic Programming; 2002 Apr 3-5; Kinsdale, Ireland. Berlin: Springer; 2002. p.182-91.
2. ประมวล วีรุตมเสน. การปฏิสนธินอกร่างกาย และการย้ายฝากตัวอ่อนในคน. ใน : อุกฤษต์ เปล่งวาณิช, เสบียง ศรีวรรณบูรณ์, มลินี มาลากุล, บรรณาธิการ. การประชุมใหญ่ทางวิชาการฉลอง 100 ปี คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2534. หน้า 5-7.


3.3 เอกสารรวบรวมจากการประชุมวิชาการที่จัดพิมพ์ตามหลังการประชุม
ตัวอย่างการเขียน
1. Harnden P, Joffe JK, Jones WG, editors. Germ cell tumours V. Proceedings of the 5th Germ Cell Tumour Conference; 2001 Sep 13-15; Leeds, UK. New York: Springer; 2002.

4. แหล่งข้อมูลอิเลคโทรนิก
4.1 CD-ROM
ตัวอย่างการเขียน
1. Anderson SC, Poulsen KB. Anderson's electronic atlas of hematology [CD-ROM]. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2002.

4.2 Journal article on the Internet
ตัวอย่างการเขียน
1. Abood S. Quality improvement initiative in nursing homes: the ANA acts in an advisory role. Am J Nurs [serial on the Internet]. 2002 Jun [cited 2002 Aug 12];102(6):[about 3 p.]. Available from: http://www.nursingworld.org/AJN/2002/june/Wawatch.htm

4.3 Monograph on the Internet
ตัวอย่างการเขียน
1. Foley KM, Gelband H, editors. Improving palliative care for cancer [monograph on the Internet]. Washington: National Academy Press; 2001 [cited 2002 Jul 9]. Available from: http://www.nap.edu/books/0309074029/html/

4.4 Homepage/Web site
ตัวอย่างการเขียน
1. Cancer-Pain.org [homepage on the Internet]. New York: Association of Cancer Online Resources, Inc.; c2000-01 [updated 2002 May 16; cited 2002 Jul 9]. Available from: http://www.cancer-pain.org/

4.5 Part of a homepage/Web site
ตัวอย่างการเขียน
1. American Medical Association [homepage on the Internet]. Chicago: The Association; c1995-2002 [updated 2001 Aug 23; cited 2002 Aug 12]. AMA Office of Group Practice Liaison; [about 2 screens]. Available from: http://www.ama-assn.org/ama/pub/category/1736.html

4.6 Database on the Internet ase:
ตัวอย่างการเขียน
Open database:
1. Who's Certified [database on the Internet]. Evanston (IL): The American Board of Medical Specialists. c2000 - [cited 2001 Mar 8]. Available from: http://www.abms.org/newsearch.asp
Closed database:
1. Jablonski S. Online Multiple Congential Anomaly/Mental Retardation (MCA/MR) Syndromes [database on the Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US). c1999 [updated 2001 Nov 20; cited 2002 Aug 12]. Available from: http://www.nlm.nih.gov/mesh/jablonski/syndrome_title.html

4.7 Part of a database on the Internet
ตัวอย่างการเขียน
1. MeSH Browser [database on the Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); 2002 - [cited 2003 Jun 10]. Meta-analysis; unique ID: D015201; [about 3 p.]. Available from: http://www.nlm.nih.gov/mesh/MBrowser.html Files updated weekly.


Reference:
1. International Committee of Medical Journal Editors. Uniform Requirements for Manuscripts Submitted to Biomedical Journals: Sample References [monograph on the Internet]. Bethesda (MD): National Library of Medicine (US); [updated July 9, 2003; cited 2005 Mar 3]. [about 7 screens]. Available from: http://www.nlm.nih.gov/bsd/uniform_requirements.html


ที่มา;สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

หนึ่งมุมมองเกี่ยวกับการใช้ยา...

วารสารภูกามยาว ฉบับตีพิมพ์ เดือนธันวาคม 2552
จิรวัฒน์ รวมสุข; ผู้เขียน

"คุณเคยสงสัยไหมว่า...ในแต่ละครั้งที่คุณเจ็บป่วยจำเป็นต้องใช้ยา คุณใช้มันอย่างเหมาะสมหรือไม่ ใช้อย่างถูกวิธีกันบ้างไหม บางคนได้ยินมาแบบนั้นก็เชื่อแล้วปฏิบัติตาม ก็อาจเกิดโทษได้หากเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งถ้าเรามีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาที่ถูกต้อง ผลประโยชน์ที่ได้รับก็จะเกิดขึ้นกับตัวท่านเอง วันนี้ผมได้รวบรวมมุมมองเกี่ยวกับการใช้ยาที่อาจไม่เหมาะสมนักมาให้ได้รับฟังกันครับ"...



 ขนาดยารับประทาน 1 ช้อนโต๊ะ เราใช้ ช้อนแกง แทนได้ !?
เป็นความเชื่อที่คนส่วนใหญ่คงคิดว่า ช้อนแกงที่เราใช้กินข้าวนั้นใช้แทนช้อนโต๊ะตามที่ระบุไว้บนฉลากยา แต่จริงๆแล้วเมื่อลองวัดปริมาตร ขนาดยาจากช้อนโต๊ะมาตรฐานที่ได้รับจากร้านยาหรือโรงพยาบาลจะมากกว่าช้อนแกงถึง 2 เท่า ซึ่งหากคุณใช้ช้อนแกงจะทำให้คุณได้รับขนาดยาที่ต่ำเกินไป ผลการรักษาจึงไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะหากเป็นยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ ก็อาจทำให้เชื้อดื้อยาได้ง่าย และทำให้ต้องใช้ยาที่แรงกว่านี้ในอนาคต ดังนั้นจะช้อนชา หรือช้อนโต๊ะ เราก็ควรจะใช้ช้อนจากที่ได้รับในร้านยาหรือโรงพยาบาล หรือที่แนบมากับขวดยา
ซึ่งหลักในการตวงยาอย่างถูกต้องควรปฏิบัติดังนี้
- 1 ช้อนชา คือ 5 ซีซี (cc) หรือ 5 มิลลิลิตร (5 ml)
- 1 ช้อนโต๊ะ คือ 15 ซีซี (cc) หรือ 15 มิลลิลิตร (15 ml)
- 1 ช้อนกินข้าวมีความจุเพียง 7.5 ซีซี (cc)
- 1 ช้อนกาแฟมีความจุเพียง 2.5 ซีซี (cc)

ฉะนั้นช้อนชาจึงไม่ใช่ช้อนกาแฟ และช้อนโต๊ะก็ไม่ใช่ช้อนแกง
หากกรณีที่ท่านทำช้อนโต๊ะหรือช้อนชามาตรฐานหล่นหาย
ก็ควรจะไปขอรับช้อนใหม่ได้ที่ร้านขายยาหรือสถานบริการทาง
การแพทย์ทั่วไป

 ฉีดยาดีกว่ากินยา !?
อืม..เป็นเช่นนั้นจริงหรือ? ยารับประทานเป็นรูปแบบยาอันดับแรกที่มักพิจารณาเลือกใช้ เพราะบริหารง่ายและสามารถรักษาโรคได้เช่นเดียวกัน ส่วนยาฉีดใช้ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ยารับประทานได้หรือต้องการผลให้ระดับยาสูงขึ้นทันทีเท่านั้น จากกรณีศึกษาคุณยายท่านหนึ่ง เจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆต้องไปหาหมอเพื่อฉีดยา แต่จริงๆแล้วหากไม่ได้เจ็บป่วยอะไรหมอจะพิจารณาให้ยารับประทาน แต่คุณยายก็ไม่ยอมอยากให้คุณหมอฉีดยาให้อีก หมอก็เลยฉีดให้จริง แต่น้ำเกลือเท่านั้น เชื่อไหมหลังจากนั้นคุณยายก็บอกว่าหายดีแล้ว จริงๆคงเป็นความรู้สึกทางใจและฤทธิ์ของยารับประทานนั่นเอง

 ยาแพงดีกว่ายาถูก !?
ไม่จริงเสมอไป เพราะยาที่สามารถจัดจำหน่ายได้นั้นต้องผ่านการศึกษาด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย การควบคุมคุณภาพ และที่สำคัญต้องผ่านการขึ้นทะเบียนยาโดยสำนักงานอาหารและยา ไม่ว่ายานั้นจะมีมูลค่ามากน้อยเพียงใด แต่ที่สำคัญคือเราใช้ยาถูกโรค ถูกขนาด ถูกเวลา ถูกชนิดหรือไม่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราหายจากโรคภัย ไข้เจ็บ
 เมื่ออาการหายก็ไม่ต้องรับประทานยาต่อ !?
คงไม่ใช่คำตอบสำหรับทุกโรค หากเราพิจารณากันให้ดีหลักการใช้ยาในการรักษามีอยู่ 2 ประเภท คือ 1. การใช้เพื่อบรรเทาอาการหรือรักษาตามอาการ หากอาการดีขึ้นก็สามารถหยุดได้ 2. การใช้เพื่อการรักษาโรคหรือกำจัดสาเหตุของโรค การใช้ยาตามระยะเวลากำหนด ขึ้นกับข้อมูลการศึกษาตามชนิดอาการหรือโรค ที่สำคัญคือโรคเรื้อรัง ตามชื่อก็บอกไว้แล้วว่าเรื้อรัง ย่อมรับประทานยาเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่อง แม้ใช้ยาจนสามารถควบคุมอาการได้แล้วก็ตาม การหยุดยาเองอาจก่อให้เกิดผลร้ายตามมา คือโรคไม่หายขาด หรืออาการอาจกำเริบขึ้นได้อีก

จากสิ่งที่นำมาเล่าสู่กันฟังเป็นมุมมองที่หลายคนอาจจะยึดติดหรือยังไม่ทราบรายละเอียดมากนักแต่สิ่งเหล่านี้เป็นความรู้เบื้องต้นในการใช้ยา ให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ท้ายนี้หากมีปัญหาเรื่องการใช้ยา อย่าลืมเรียกหาเภสัชกรนะครับ.....






หลักการจ่ายยาที่ดี



หลักการจ่ายยาที่ดี


การจ่ายยาที่มีประสิทธิภาพ นั่นคือ ยาถูกต้อง จ่ายรวดเร็ว มีประสิทธิผลและไม่เกิดอันตรายจากการใช้ยา
เภสัชกรมีหน้าที่ตามกฏหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพในอันที่จะช่วยให้ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาทราบถึงสาเหตุที่ต้องใช้ยา และทราบถึงข้อมูลที่สำคัญในการใช้ยาให้ได้ผลและปลอดภัย นั่นคือทราบวิธีใช้ การเก็บรักษา อาการข้างเคียงที่พบบ่อยและการหลีกเลี่ยง รวมทั้งต้องแน่ใจว่ายาที่ผู้ป่วยต้องใช้นั้นมีความจำเป็นและเหมาะสมในการรักษาภาวะผิดปกติในผู้ป่วยแต่ละราย
ประเด็นสำคัญของการรักษาด้วยยาคือ ต้องมีกระบวนการที่ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และประหยัด ซึ่งประเด็นดังกล่าวสอดคล้องกับพันธกิจของเภสัชกรซึ่งทำหน้าที่บริการผู้ใช้ยาหรือผู้ป่วย ในอันที่จะทำให้การใช้ยานั้นเพิ่มคุณภาพชีวิตแก่ผู้ป่วย มิใช่เกิดความสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์หรือเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้อย่างไม่สมควร รวมทั้งคำประกาศสิทธิของผู้ป่วยซึ่งแถลงร่วมกันโดยแพทยสภา, สภาการพยาบาล, สภาเภสัชกรรม, ทันตแพทยสภาและคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปในปี 2540 (1 ) เภสัชกรจึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรฐานวิชาชีพให้สามารถรองรับความจำเป็นดังกล่าว
โดยข้อบังคับสภาเภสัชกรรมว่าด้วยข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2540(2) ซึ่งกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงานของเภสัชกรผู้ประกอบวิชาชีพให้เกิดความชัดเจนนั้น ได้กำหนดเรื่องการจ่ายยาไว้ในข้อ 4 ในเรื่องการปรุงยาและจ่ายยาตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ และข้อ 5 การปรุงยาและการขายยาตามกฎหมายว่าด้วยยาซึ่งผู้เขียนจะได้กล่าวในบทความต่อไป แต่ก่อนอื่นนั้นเรามารู้จักกันก่อนว่า การจ่ายยาคืออะไรและมีขั้นตอนอย่างไร

การจ่ายยา
การจ่ายยา หมายถึง กระบวนการประเมินการสั่งใช้ยาหรือประเมินความจำเป็นในการใช้ยาและคัดสรรยาตามหลักการวิชาชีพให้มีความครบถ้วนเหมาะสม โดยพิจารณาจากประวัติการเจ็บป่วย ผลการวินิจฉัยทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกฏหมายหรือระเบียบเพื่อดำเนินการเลือก, จัดเตรียมยา และอุปกรณ์จำเป็นอย่างถูกต้องเหมาะสม ส่งมอบแก่ผู้ป่วยแต่ละรายพร้อมคำแนะนำที่จะทำให้การใช้ยามีประสิทธิภาพ ปลอดภัยมากที่สุด
การจ่ายยาที่ดีจะต้องจัดการให้ผู้ที่มารับบริการได้รับบริการตามสิทธิอันพึงได้รับตามคำประกาศสิทธิผู้ป่วยและข้อบังคับสภาเภสัชกรรมเป็นอย่างน้อย
การบริการเภสัชกรรมจะต้องมีเภสัชกรเป็นผู้รับผิดชอบการจ่ายยาตลอดเวลาให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและสิทธิของผู้ป่วย โดยพิจารณาหลักปฏิบัติเบื้องต้นดังต่อไปนี้

หลักปฏิบัติเบื้องต้นในการจ่ายยา
1. เป้าหมายในการจ่ายยา
ให้ผู้ป่วยได้รับยาที่สมควรหรือจำเป็นในการรักษา บรรเทาหรือป้องกันอาการ และสามารถใช้ยานั้นได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

2. หลักปฏิบัติในการจ่ายยาที่ดี
2.1 ในการจ่ายยาควรมีข้อมูลผู้รับบริการประกอบการจ่ายยา ได้แก่อายุ น้ำหนัก การวินิจฉัยหรืออาการที่พบ เพื่อให้เภสัชกรสามารถประเมินปัญหาเบื้องต้น เลือกยาหรือจัดยาและให้คำอธิบายความจำเป็นที่ต้องใช้ยา
2.2 การจ่ายยาทุกครั้ง ทุกขนาด เภสัชกรควรพิจารณาให้ผู้รับบริการสามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมและสะดวกเป็นประการสำคัญ โดยพร้อมที่จะเตรียมยาในรูปแบบหรือความแรงที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยเมื่อไม่มียาในลักษณะนั้นจำหน่าย หรือให้บริการ
2.3 เภสัชกรมีหน้าที่:
2.3.1 คัดกรองปัญหาของการใช้ยา
- การสั่งใช้ยาที่ระบุข้อมูลไม่ครบถ้วน เช่น การกำหนดขนาดหรือ ความแรงของยา, ระยะเวลาการใช้ หรือชื่อยาไม่ชัดเจน
- การใช้ยาซ้ำซ้อน
- การใช้ยาที่อาจเกิดอันตรกิริยาที่มีนัยสำคัญ
- การใช้ยาที่ขัดกับกฎหมาย
- การใช้ยาโดยไม่มีความจำเป็น
- อันตรายจากการใช้ยา
2.3.2 ให้คำแนะนำเกี่ยวกับยาที่จ่ายแก่ผู้ป่วยทุกราย ในประเด็นต่างๆ อย่างน้อยควรเป็นไปตามข้อบังคับของสภาเภสัชกรรมว่าด้วยการปรุงยาและจ่ายยาตามใบสั่งยา เน้นให้ความรู้เรื่องยาเพื่อป้องกันปัญหาจากการใช้ยา

3. ขั้นตอนในการจ่ายยา
ขั้นตอนที่ 1 ในกรณีที่มีใบสั่งยา
การรับใบสั่งยาและตรวจสอบความสมบูรณ์ของใบสั่งยา
ข้อมูลส่วนประกอบของใบสั่งยา อย่างน้อยต้องประกอบด้วย
1) ชื่อและสถานที่ตั้งของสถานพยาบาล
2) ชื่อ นามสกุล อายุ และเลขที่ของผู้ป่วย
3) วันที่ที่สั่งใช้ยา
4) ชื่อยาและความแรงของยา รูปแบบของยา
5) จำนวนหรือปริมาณยาหรือระยะเวลาที่ต้องการสั่งให้ผู้ป่วยในครั้งนั้น
6) วิธีใช้ยา
7) ลายมือชื่อแพทย์ผู้สั่งใช้ยา และ/หรือ เลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม

ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของการสั่งใช้ยา
เพื่อช่วยคัดกรองโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนดังต่อไปนี้ เป็นอย่างน้อย
1) ผู้ป่วยมีข้อห้ามใช้ยา เช่น แพ้ยา
2) ขนาดที่อยู่ในช่วงการรักษาตามอายุน้ำหนักของผู้ป่วย
3) ยาที่อาจซ้ำซ้อนโดยไม่เสริมฤทธิ์
4) ยาที่อาจเกิดอันตรกิริยาที่มีนัยสำคัญ
ขั้นตอนที่ 3 ในกรณีรับบริการจากเภสัชกรที่ร้านยา
ต้องมีหลักเกณฑ์ในการประเมินอาการเบื้องต้นและคัดเลือกยาให้เหมาะสมกับผู้มารับบริการแต่ละราย

ขั้นตอนที่ 4 การจัดทำฉลากและจัดเตรียมยาอย่างมีคุณภาพ
1) ยาที่จ่ายต้องครบถ้วน มีฉลากถูกต้อง บรรจุในภาชนะที่เหมาะสมได้มาตรฐาน
2) ฉลากยาทุกขนานที่จ่ายควรพิมพ์ผ่านคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพิมพ์อย่างน้อยต้องมีข้อมูลต่อไปนี้
(1) วันที่จ่ายยา
(2) เลขที่จ่ายยา หรือเลขที่ใบสั่งยา
(3) ชื่อผู้ป่วย
(4) ชื่อยา และความแรง และจำนวน
(5) วิธีใช้ยาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย
(6) ฉลากช่วยคำแนะนำหรือคำเตือนที่จำเป็น
(7) ชื่อที่ตั้ง หมายเลขโทรศัพท์ของสถานที่จ่ายยา
นอกจากนั้น ควรมีชื่อแพทย์ผู้สั่งใช้ยาและเภสัชกรผู้จ่ายยาเพื่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินกับผู้ป่วย หรือเกิดความผิดพลาดที่เร่งด่วน
3) ตรวจสอบความถูกต้องของยาที่จัดเทียบกับคำสั่งใช้ยา

ขั้นตอนที่ 5 การจ่ายยาแก่ผู้ป่วย
เป็นหน้าที่ของเภสัชกรในการส่งมอบยาแก่ผู้ป่วย โดยมีเป้าหมายเพิ่มความสามารถในการใช้ยาตามสั่ง ลดความคลาดเคลื่อนในการใช้ยา และสืบหาอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเป็นปัญหาของผู้ป่วยแต่ละราย โดยดำเนินการ
1) สำหรับผู้ป่วยที่เคยใช้ยาอยู่แล้ว คัดกรองปัญหา หรือย้ำความเข้าใจในเรื่อง
- การไม่ใช้ยาตามสั่ง ความเข้าใจในวิธีใช้ที่ถูกต้อง
- อาการข้างเคียงที่น่าจะเกิดแล้วรบกวนผู้ป่วย
โดยอาจใช้เทคนิคให้ผู้ป่วยสาธิตและบอกเล่า (Show and Tell) มาประยุกต์
2) ผู้ป่วยได้รับยาครั้งแรก ต้องให้ข้อมูลจำเป็นอย่างน้อยตามข้อบังคับสภาเภสัชกรรม
3) ตรวจสอบความถูกต้อง สมบูรณ์ของยาที่จะจ่ายแล้วส่งมอบแก่ผู้ป่วย
4) ให้ข้อมูลยาหรือบริการคำแนะนำปรึกษาด้านยา
5) ผู้ที่สมควรได้รับบริการจากแพทย์ต้องได้รับการส่งต่ออย่างเหมาะสม

ทักทาย แนะนำ ติชม แสดงความคิดเห็น